วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ระบบสารสนเทศเพื่อการวางแผนการบริหาร


ระบบสารสนเทศเพื่อการวางแผนทางการบริหาร


ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหาร    

เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหาร
สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข่าวสารที่ได้จากการนำ ข้อมูลดิบ (raw data) มาคำนวณทางสถิติหรือประมวลผลอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งข่าวสารที่ได้ออกมานั้นจะอยู่ในรูปที่สามารถนำไปใช้งานได้ทันที
ในส่วนของ เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) หมายถึงกระบวนการต่างๆ และ ระบบงานที่ช่วยให้ได้สารสนเทศที่ต้องการโดยจะรวมถึง
1. เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ หมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องใช้สำนักงาน อุปกรณ์คมนาคมต่างๆ รวมทั้งซอฟต์แวร์ทั้งระบบสำเร็จรูปและพัฒนาขึ้นโดยเฉพาะด้าน
2. กระบวนการในการนำอุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ ข้างต้นมาใช้งาน รวบรวมข้อมูล จัดเก็บประมวลผล และแสดงผลลัพธ์เป็นสารสนเทศในรูปแบบต่างๆ ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ต่อไป
เทคโนโลยีของระบบสารสนเทศในปัจจุบัน ประกอบด้วย
§ ระบบประมวลผลข้อมูล (DP: Data Processing System)
§ ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร (MIS: Management Information System)
§ ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (DSS: Decision Support System)
§ ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง (EIS: Executive Information System)
§ ระบบผู้เชี่ยวชาญ (ES: Expert Systems)
สารสนเทศกับการตัดสินใจ
ในองค์การต่าง ๆ นั้น สามารถแบ่งการทำงานได้เป็น 4 ระดับด้วยกันคือ ระดับวางแผนยุทธศาสตร์ระยะยาว (strategic planning) ระดับวางแผนการบริหาร (tactical planning) ระดับวางแผนปฏิบัตการ (operation planning) และ ระดับผู้ปฏิบัติการ (clerical) โดยใน 3 ระดับแรกนั้นจะจัดอยู่ใน ระดับบริหาร (Management) และระดับสุดท้ายจัดอยู่ใน ระดับปฏฺบัติการ (Operation)
ระบบสารสนเทศจะทำการเก็บรวมรวบข้อมูลจากระดับปฏิบัติการ และทำการประมวลผลเพื่อให้สารสนเทศกับบุคลากรในระดับต่าง ๆ ซึ่งในแต่ละระดับนั้นจะใช้ลักษณะและปริมาณของสารสนเทศที่แตกต่างไป บุคลากรในแต่ละระดับจะเกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศดังนี้
1. ระดับปฏิบัติการ
บุคลากรในระดับนี้เกี่ยวข้องอยู่กับงานที่ทำซ้ำ ๆ กัน และจะเน้นไปที่การจัดการรายการประจำวัน นั้นคือบุคลากรในระดับนี้เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศในฐานะผู้จัดหาข้อมูลเข้าสู่ระบบ ตัวอย่างเช่น เจ้าหน้าที่ผู้ทำหน้าที่ป้อนข้อมูลการสั่งซื้อของลูกค้าเข้าสู่คอมพิวเตอร์ในระบบสารสนเทศเพื่อการขาย หรือตัวแทนการจองตั๋วและขายตั๋วในระบบจองตั๋วเครื่องบิน เป็นต้น
2. ระดับวางแผนปฏิบัติการ
บุคคลในระดับนี้ จะเป็นผู้บริหารขั้นต้นที่ทำหน้าที่ควบคุมการปฏิงานประจำวัน และการวางแผนปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับระยะเวลาสั้น ๆ เช่น แผนงานประจำวัน ประจำสัปดาห์ หรือประจำไตรมาส ข้อมูลที่ผู้บริหารระดับนี้ต้องการส่วนมากจะเกี่ยวข้องกับผลการปฏิบัติในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ ผู้จัดการแนกจายตรงอาจต้องการรายงานสรุปผลการขายประจำไตรมาสของพนักงานขาย เพื่อประเมินผลของพนักงานขายแต่ละคน เป็นต้น
3. ระดับวางแผนการบริหาร
บุคลากรในระดับนี้ จะเป็นผู้บริหารระดับกลาง ซึ่งทำหนาที่วางแผนให้บรรลุเป้าหมายต่างๆ เพื่อให้องค์กรประสบความสำเร็จตามแผนงานระยะยาวตามที่กำหนดโดยผู้บริหารระดับสูง มักจะเป็นสารสนเทศตามคาบเวลาซึ่งมีระยะเวลานานกว่าผู้บริหารขั้นต้น และจะเป็นสารสนเทศที่รวบรวมข้อมูลทั้งจากภายในและภายนอกองค์กร เช่น ของคู่แข่งหรือของตลาดโดยรวม เป็นต้น นอกจากนี้ ผู้บริหารระดับนี้ยังต้องการระบบที่ให้รายงานการวิเคราะห์แบบ ถ้า-แล้ว (What - IF) นั่นคือสามารถทดสอบได้ว่าหากเกิดเหตุการณ์เช่นนี้แล้ว ตัวเลขหรือสารสนเทศต่างๆ จะเปลี่ยนเป็นเช่นไร เพื่อให้จำลองสถานการณ์ต่างๆที่ต้องการได้ ตัวอย่างเช่น ผู้จัดการฝ่ายขายอาจต้องการทาบผลการขายประจำปีของบริษัทเทียบคู่แข่งต่าง ๆ รวมทั้งอาจต้องการทดสอบว่าถ้าเพิ่มหรือลดลงโฆษณาในสื่อต่าง ๆ จะมีผลกระทบต่อยอดขายอย่างไรบ้าง
4. ระดับวางแผนยุทธศาสตร์ระยะยาว
ผู้บริหารระดับนี้จะเป็นระดับสูงสุด ซึ่งเน้นในเรื่องเป้าประสงค์ขององค์กร ระบบสารสนเทศที่ต้องการจะเน้นที่รายงานสรุป รายงานแบบ What-if และการวิเคราะห์แนวโน้มต่างๆ (trand analysis) ตัวอย่างเช่น ประธานบริษัทอาจต้องการรายงานที่แสดงแนวโน้มการขายในอีก 4 ปีข้างหน้าของผลิตภัณฑ์ 3 ชนิดของบริษัท เพื่อดูแนวโน้มในการเติบโตของผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ว่า ผลิตภัณฑ์ใดจะมีแนวโน้มที่มีกว่า หรือผลิตภัณฑ์ใดที่อาจสร้างปัญหาให้บริษัทได้ เป็นต้น
ระบบประมวลผลข้อมูล
ระบบประมวลผลข้อมูล (Data processing System หรือ DP) หรือบางครั้งเรียกว่า ระบบประมวลผลรายการประจำ (Transaction Processing System หรือ TPS) หรือระบบประมวลผลข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Processing หรือ EDP) เป็นการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการจัดข้อมูลขั้นพื้นฐาน โดยเน้นที่การประมวลผลรายการประจำวัน (transaction) และการเก็บรักษาข้อมูล
ระบบประมวลผลข้อมูลมักจะทำงานอยู่เฉพาะส่งนหนึ่งส่วนใดของธุรกิจเท่านั้น เช่นฝ่ายการเงินและบัญชี ฝ่ายผลิต ฝ่ายการตลาด เป็นต้น โดยแต่ละฝ่ายจะมีการประมวลผลที่แยกจากกัน ข้อมูลจะถูกป้อนและจัดเก็บอยู่ในรูปของไฟล์ และไฟล์ต่างๆ จะถูกแก้ไขระหว่างการประมวลผลรายการประจำวัน จากนั้นผลลัพธ์จะถูกแสดงออกมาตามคาบเวลาที่กำหนด เช่น ใบส่งของ หรือรายงานประจำเดือน เป็นต้น
ระบบประมวลผลข้อมูลมักจะถูกใช้งานได้ถึงระดับของผู้บริหารระดับปฎิบัติการ (operational management) เท่านั้น เนื่องจากระบบชนิดนี้จะไม่ยืดหยุ่น และไม่สามารถสนองความต้องการข้อมูลหรือสารสนเทศที่ไม่ได้จัดเเก็บอยู่ในระบบได้ อย่างไรก็ดี ข้อมูลในระบบประมวลผลข้อมูลจะเป็นพื้นฐานที่สำคัญสำหรับนำไปประมวลผลในระบบระดับสูงอื่นๆ ซึ่งมีความยืดหยุ่นพอที่จะให้สารสนเทศเพื่อช่วยให้ผู้บริหารสามารถตัดสินใจในสภาวะแวดล้อมที่มักมีการเปลี่ยนแปลงได้ นั่นคือ ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร (Management Information System)
ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร
สารสนเทศเพื่อการบริหาร (Management Information System)หรือ MIS คือระบบบริหารที่ให้สารสนเทศที่ผู้บริหารต้องการ เพื่อให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจะรวมทั้งสารสนเทศจากภายในและภายนอก สารสนเทศที่เกี่ยวพันกับองค์กรในอดีตและปัจจุบัน รวมทั้งที่คาดว่าจะเป็นอนาคต นอกจากนี้ระบบเอ็มไฟเอสจะต้องให้สารสนเทศภายในช่วงเวลาที่เป็นประโยชน์ เพื่อให้บริหารสามารถตัดสินใจในการวางแผนการควบคุม และการปฏิบัติการขององค์กรได้อย่างถูกต้อง แม้ว่าผู้บริหารที่ได้รับประโยชน์จากระบบเอ็มไอเอสสูงสุดคือผู้บริหารระดับกลาง แต่โดยพื้นฐานของระบบเอ็มไอเอสแล้ว จะเป็นระบบที่สามารถสนับสนุนข้อมูลให้ผู้บริหารทั้ง 3 ระดับ คือทั้งผู้บริหารระดับต้น ผู้บริหารระดับกลาง และผู้บริหารระดับสูง โดยระบบเอ็มไอเอสจะให้รายงานที่สรุปสารสนเทศซึ่งรวบรวมจากฐานข้อมูลทั้งหมดของบริษัท จุดประสงค์ของรายงานจะเน้นให้ผู้บริหารสามารถมองเห็นแนวโน้มและภาพรวมขององค์กรในปัจจุบัน รวมทั้งสามารถควบคุมและตรวจสอบผลงานของระดับปฏิบัติการด้วย อย่างไรก็ดี ขอบเขตของรายงานจะขึ้นอยู่กับลักษณะของสารสนเทศและจุดประสงค์ในการใช้งาน โดยอาจมีรายงานที่ออกทุกคาบระยะเวลา รายงาตตามต้องการ หรือรายงานตามสภาวการณ์หรือเหตุปกติ ตัวอย่างรายงานที่ออกโดยระบบ MIS เช่น การวิเคราะห์การขายแยกตามพื้นที่ การวิเคราะห์ต้นทุน งบประมาณประจำปี การวิเคราะห์การลงทุน และตารางการผลิต เป็นต้น
คุณสมบัติของระบบเอ็มไอเอส
ลักษณะระบบของเอ็มไอเอสที่ดีสามารถสรุปได้ดังนี้
§ ระบบเอ็มไอเอส จะสนับสนุนการทำงานของระบบประมวลผลและการจัดเก็บข้อมูลรายวัน
§ ระบบเอ็มไอเอส จะใช้ฐานข้อมูลที่ถูกรวมเข้าด้วยกัน และสนับสนุนการทำงานของฝ่ายต่างๆ ในองค์กร
§ ระบบเอ็มไอเอส จะช่วยให้ผู้บรหารระดับต้น ระดับกลาง และระดับสูง เรียกใช้ข้อมูลที่เป็นโครงสร้างได้ตามเวลาที่ต้องการ
§ ระบบเอ็มไอเอส จะมีความยืดหยุ่น และสามารถรองรับความต้องการข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงไปขององค์กร
§ ระบบเอ็มไอเอส ต้องมีระบบรักษาความลับของข้อมูล และกำจัดการใช้งานของบุคคลเฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้องเท่านั้น
ความแตกต่างของเอ็มไอเอสและ ดีพี
§ การใช้ระบบฐานข้อมูลร่วมกันของเอ็มไอเอส แทนการใช้ระบบแฟ้มข้อมูลแบบแยกกันของระบบดีพี ทำให้มีความยืดหยุ่นพอที่จะให้สารสนเทศที่ผู้บริหารต้องการ
§ ระบบเอ็มไอเอสจะรวบรวมเก็บข้อมูลจากฝ่ายทำงานต่างๆ ขณะที่ระบบดีพีมีการใช้งานแยกจากกันในแต่ละฝ่าย
§ ระบบเอ็มไอเอส จะให้สารสนเทศสำหรับผู้บริหารทุกระดับ ในขณะที่ระบบดีพีจะให้ระดับปฏิบัติการเท่านั้น
§ สารสนเทศที่ผู้บริหารต้องการ ส่วนมากจะได้รับการตอบสนองทันทีจากระบบเอ็มไอเอส ในขณะที่ระบบดีพีจะต้องรอให้ถึงเวลาสรุป (จากรายงาน)
ระบบการสนับสนุนการตัดสินใจ
ระบบการตัดสินใจ ( Decision Support Systems)หรือ DSS เป็นระบบที่พัฒนาขึ้นจากระบบอ็มไอเอสอีกระบบหนึ่ง เนื่องจากผู้ที่มีหน้าที่ในการตัดสินใจจะสามารถใช้ประสบการณ์หรือใช้ข้อมูลที่มีอยู่แล้วในระบบเอ็มไอเอสของระบริษัท สำหรับการตักสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพในงานปกติ แต่บ่อยครั้งที่ผู้ตัดสินใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้บริหารระดับวางแผนบริหารและวางแผนยุทธศาสตร์ และเผชิญกับการตัดสินใจที่ประกอบด้วยปัจจัยที่ซับซ้อนเกินกว่าความสามารถของมนุษย์ที่จะประมวลผลเข้าด้วยกันได้อย่างถูกต้อง จึงทำให้เกิดการสนับสนุนการตัดสินใจ ซึ่งเป็นระบบที่สนับสนุนความต้องการเฉพาะของผู้บริหารแต่ละคน (made by order)
ในหลาย ๆ สถานะการณ์ ระบบสนับสนุนการตัดสินใจมีหน้าที่ช่วยให้การตัดสินใจเป็นไปได้อย่างสะดวก โดยอาจจะช่วยผู้ตัดสินใจในการเลือกทางเลือก หรืออาจมีการจัดอันดับให้ทางเลือกต่าง ๆ ตามวิธีที่ผู้ตัดสินใจจะเป็นระบบสารสนเทศแบบโต้ตอบได้ ซึ่งจะใช้ชุดเครื่องมือที่ประกอบขึ้นจากทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ เพื่อช่วยให้ผู้ตัดสินใจสามารถใช้งานได้ง่ายที่สุด เช่น การแสดงกราฟฟิกแบบต่าง ๆ หรือใช้ระบบจัดการฐานข้อมูล (Data Base) เป็นต้น
นอกจากนี้ ยังมีการใช้โมเดลการวางแผนการทำนาย รวมทั้งการใช้ภาษาในการซักถามที่ใกล้เคียงกับภาษามนุษย์ หรือแม้แต่ระบบปัญญาประดิษฐ์ เพื่อให้บริหารสามารถเรียกใช้สารสนเทศที่ต้องการได้ โดยไม่จำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญเลย
คุณสมบัติของระบบดีเอสเอส
ลักษณะของระบบดีเอสเอสที่ดีสามารถสรุปได้ดังนี้
§ ระบบดีเอสเอสจะต้องช่วยผู้บริหารในกระบวนการตัดสินใจ
§ ระบบดีเอสเอสจะถูกออกแบบมาสามารถเรียกใช้ทั้งข้อมูลแบบกึ่งโครงสร้างและแบบไม่มีโครงสร้างแน่นอนได้
§ ระบบดีเอสเอสจะต้องสามารถสนับสนุนผู้ตัดสินใจได้ทุกระดับแต่จะเน้นที่ระดับวางแผนบริหารและวางแผนยุทธสาสตร์
§ ระบบดีเอสเอสจะมีรูปแบบการใช้งานเอนกประสงค์ มีความสามารถในการจำลองสถานการณ์ และมีเครื่องมือในการวิเคราห์สำหรับช่วยเหลือผู้ทำการตัดสินใจ
§ ระบบดีเอสเอสจะต้องมีระบบโต้ตอบกับผู้ใช้ได้ สามารถใช้งานได้ง่าย ผู้บริหารต้องสามารถใช้งานโดยพึ่งความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญน้อยที่สุดหรือไม่ต้องพึ่งเลย
§ ระบบดีเอสเอสสามารถปรับตัวให้เข้ากับข่าวสารในสภาพการณ์ต่างๆ
§ ระบบดีเอสเอสต้องมีระบบกลไกช่วยให้สามารถเรียกใช้ข้อมูลที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว
§ ระบบดีเอสเอสต้องสามารถติดต่อกับฐานข้อมูลองค์กรได้
§ ระบบดีเอสเอสต้องทำโดยไม่ขึ้นกับระบบทำงานตามตารางเวลาขององค์กร
§ ระบบดีเอสเอสต้องมีความยืดหยุ่นพอที่จะรองรับรูปแบบการบริหารต่างๆ
ความแตกต่างของระบบดีเอสเอสและเอ็มไอเอส
§ ระบบเอ็มไอเอส จะถูกออกแบบเพื่อจัดการเฉพะกับผู้ที่มีปัญหาที่มีโครงสร้างเท่านั้น ในขณะที่ระบบดีเอสเอถูกออกแบบให้สามารถจัดการกับปัญหาแบบกึ่งมีโครงสร้าง หรือแบบไม่มีโครงสร้างแน่นอน
§ ระบบเอ็มไอเอส จะถูกออกแบบและสร้างขึ้นเพื่อสนับสนุนงานที่แน่นอน เช่น ระบบบัญชี การควบคุมสินค้าคงคลัง
§ ระบบเอ็มไอเอสจะให้รายงานหรือสารสนเทศที่สรุปออกมากับผู้ใช้ ในขณะที่ระบบดีเอสเอสจะโต้ตอบโดยทันที
§ ในระบบไอเอ็มเอส ผู้ใช้ไม่สามารถขอให้ระบบสนับสนุนสารสนเทศสำหรับการตัดสินใจที่ต้องการเป็นการเฉพาะ หรือในรูปแบบที่เฉพาะตัว แต่ในระบบดีเอสเอส ผู้ใช้สามารถกำหนดได้เอง
§ ระบบเอ็มไอเอศจะให้สารสนเทศที่เป็นประโยชน์สูงกับผู้บริหารระดับกลาง ในขณะที่ระบบดีเอสเอสจะให้สารสนเทศที่เหมาะกับทั้งผู้บริหารระดับกลางและระดับสูง
ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง
ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง (Executive Information Systems )หรือ EIS เป็นระบบที่สร้างขึ้น เพื่อสนับสนุนสารสนเทศและการตัดสินใจสำหรับผู้บริหารระดับสูงโดยเฉพาะ หรือสามารถกล่าวได้ว่าระบบอีไอเอสคือส่วนหนึ่งของระบบดีเอสเอสที่แยกออกมา เพื่อเน้นในการให้สารสนเทศที่สำคัญต่อการบริหารแก่ผู้บริหารระดับสูงสุด
ระบบอีไอเอสจะใช้ข้อมูลจากทั้งภายในภายนอกองค์กร (เช่น รายงานจากหน่วยงานของรัฐบาล หรือข้อมูลประชากร) นำมาสรุปอยู่ในรูปแบบที่สามารถตรวจสอบ และใช้ในการตัดสินใจโดยผู้บริหารได้ง่าย นอกจากนี้ ยังช่วยให้ผู้บริหารดูในรายละเอียดที่ต้องกรในจุดต่างๆได้อีกด้วย
ตัวอย่างของระบบอีไอเอส เช่น รายงานเกี่ยวกับการเงินและสถานะภาพทางธุรกิจของบริษัทรวมทั้งอัตราส่วนสินทรัพย์ต่อหนี้สิน หรือจำนวนลูกค้าเฉลี่ยต่อนาทีที่ใช้บริการสนับสนุนหลังการขายทางโทรศัพท์เป็นต้น โดยระบบอาจแสดงลูกศรเพื่อให้ทราบว่าอัตราส่วนดีขึ้น เท่าเดิมหรือแย่ลง รวมทั้งข้อมูลที่แสดงอาจใช้สีในการแสดงสถานการณ์ต่างๆก็ได้ ซึ่งลูกศรหรือสีจะช่วยให้ผู้บริหารทราบถึงแนวโน้มได้อย่างรวดเร็ว ระบบอีไอเอสจะถูกออกแบบให้แสดงสารสนเทศขององค์กรโดยสรุป แต่ในขณะเดียวกันก็สามารถดูลึกเข้าไปถึงรายละเอียดที่ต้องการได้ โดยการเลือกหัวข้อที่สนใจและสั่งให้ระบบแสดงข้อมูลในส่วนนั้นเพิ่มเติม
ให้สารสนเทศสรุปของบริษัทในเวลาที่ต้องการยากต่อการประเมินผลประโยชน์ที่ได้จากระบบ
ความแตกต่างของระบบอีไอเอส และดีเอสเอส

§ ระบบดีเอสเอสถูกออกแบบเพื่อให้สารสนเทศที่สนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารระดับกลางถึงระดับสูง แต่ระบบอีไอเอสจะเน้นการให้สารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูงโดยเฉพาะ
§ ระบบดีเอสเอสจะมีส่วนของการใช้งานที่ใช้ไม่ง่ายเท่ากับระบบอีไอเอส เนื่องจากระบบอีไอเอสเน้นให้ผู้บริหารระดับสูงสุดใช้นั่นเอง
§ ระบบอีไอเอสสามารถสร้างขึ้นมาบนระบบดีเอสเอส เสมือนเป็นระบบซึ่งช่วยให้สอบถามและใช้งานข้อมูลได้สะดวกขึ้น ซึ่งระบบอีไอเอสจะส่งต่อการสอบถามนั้นไปยังระบบดีเอสเอส และทำการสรุปข้อมูลที่ระบบดีเอสเอสส่งมาให้อยู่ในรูปที่ผู้บริหารสามารเข้าใจได้ง่าย
ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert Systems)
ระบบผู้เชี่ยวชาญมีส่วนที่คล้ายคลึงกับระบบอื่นๆ คือเป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่ช่วยผู้บริหารแก้ไขปัญหาหรือทำการตัดสินได้ดีขึ้น ระบบผู้เชี่ยวชาญจะแตกต่างกับระบบอื่นอยู่มาก จะเกี่ยวข้องกับการจัดการความรู้ (knowledge) มากกว่าสารสนเทศ และถูกออกแบบให้ช่วยในการตัดสินใจโดยใช้วิธีเดี่ยวกับผู้เชี่ยวชาญที่มนุษย์เป็น โดยใช้หลักการทำงานด้วยระบบ ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence)
ระบบผู้เชี่ยวชาญจะทำการโต้ตอบกับมนุษย์ โดยมีการถามข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อความกระจ่างให้ข้อแนะนำ และช่วยเหลือในการตัดสินใจ นั่นคือทำงานคล้ายกับเป็นมนุษย์ผู้เชี่ยวชาญในการแก้ไขปัญหานั้น เนื่องจากระบบนี้คือการจำลองความรู้ของผู้เชี่ยวชาญจริง ๆ มานั่นเอง โดยผู้เชี่ยวชาญในที่นี้อาจเป็นได้ทั้งผู้เชี่ยวชาญในการบริหาร ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องภาษี ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องยา หรือแม้แต่ผู้เชี่ยวชาญในการทำอาหารก็ตาม
คุณสมบัติของระบบผู้เชี่ยวชาญ
ข้อดีของระบบผู้เชี่ยวชาญ จะค่อนข้างต่างกว่าระบบสารสนเทศอื่นๆ ดังนี้
- ระบบผู้เชี่ยวชาญ ช่วยในการเก็บความรู้ของผู้เชี่ยวชาญในด้านใดด้านหนึ่งไว้ ทำให้ไม่สูญเสียความรู้นั้น เมื่อผู้เชี่ยวชาญต้องการออกจากองค์กรหรืออาจไม่ปฏิบัติงานได้
- ระบบผู้เชี่ยวชาญ จะช่วยขีดความสามารถในการตัดสินใจให้กับผู้บริหารจำนวนมากพร้อมๆ กัน
- ระบบผู้เชี่ยวชาญ สามารถเพิ่มทั้งประสิทธิภาพและประสิทะผลให้กับผู้ตัดสินใจได้อย่างมาก
- ระบบผู้เชี่ยวชาญ จะทำให้การตักสินใจในแต่ละครั้งมีความใกล้เคียงและไม่มีความขัดแย้งกัน
- ระบบผู้เชี่ยวชาญ ช่วยลดการพึ่งพาบุคคลใดบุคคลหนึ่ง
- ระบบผูเชี่ยวชาญ มีความเหมาะสมที่จะเป็นระบบในการฝึกสอนเป็นอย่างมาก

** ตัวอย่างระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร **


ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร จัดการโรงเรียน




ตัวอย่างคลิป information systems



1 ความคิดเห็น: